วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2558

พัฒนาการของเด็กประถม


พัฒนาการของเด็กประถม





พัฒนาการทางด้านสติปัญญา

จากวัยอนุบาลมาเป็นเด็กประถมที่รู้จักเหตุและผล มีความคิดเป็นของตนเอง สามารถแก้ไขปัญหา พร้อมเรียนรู้โลกกว้างในกรอบของระเบียบวินัยจึงทำให้สามารถมองเห็นพัฒนาการด้านสติปัญญาที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน ดังนี้
อายุ 6 ขวบ เริ่มต้นวัยประถม เด็กวัยนี้มีความสนใจกิจกรรมและงานของตนเองนานขึ้น มีความกระตือรือร้น สนใจของแปลก ใหม่ แต่หากมีสิ่งที่น่าสนใจกว่า อาจหันไปสนใจของอีกอย่างได้ทันที นอกจากนี้สามารถวาดรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน วาดรูปคน เขียนตัวอักษรง่ายๆได้ รู้ซ้ายขวา นับ 1-30 ได้ สามารถอธิบายความหมายของคำ และบอกความแตกต่างของ 2 สิ่งได้อายุ 7 ขวบ วัยประถมเต็มตัว เมื่อเด็กมีความสนใจสิ่งใดแล้ว จะพยายามทำให้สำเร็จ มีความอยากรู้อยากเห็น เข้าใจเรื่องเหตุและผลมากขึ้น สามารถจดจำระยะเวลา อดีตและปัจจุบันได้ มีความสนใจที่ยาวนานขึ้น แต่ยังไม่สามารถทำอะไรหลายอย่างได้พร้อมกัน เด็กวัยนี้สามารถวาดรูปคนมีรายละเอียดมากขึ้น เขียนตัวหนังสือได้ครบตามแบบ บอกวันในสัปดาห์ เปรียบ เทียบขนาดใหญ่ เล็ก เท่ากัน แก้ปัญหาได้ บวก ลบ เลขง่ายๆ และบอกเวลาก่อน-หลังได้

อายุ 8 ขวบ วัยแห่งการเรียนรู้ เด็กวัยประถมจะสนใจและจดจ่อกับงานที่ได้รับมอบหมาย และหมกมุ่นจนกว่างานนั้นจะสำเร็จ เข้าใจคำสั่งและตั้งใจทำงานให้ดีกว่าเดิม เด็กวัยนี้วาดรูปสิ่งที่พบเห็นเป็นสัดส่วนและมีรายละเอียด เขียนตัวหนังสือถูกต้อง เป็นระเบียบ บอกเดือนของปีได้ สะกดคำง่ายๆได้ ฟังเรื่องราวแล้วเข้าใจเนื้อหาและขั้นตอนได้ เปรียบเทียบสิ่งที่เหมือนกัน และสามารถเข้าใจปริมาตร
อายุ 9 ขวบ ซึมซับความรู้ วิธีการพูดของเด็กจะเปลี่ยนแปลงไป มีการใช้ภาษาที่ซับซ้อนขึ้น รู้จักถาม-ตอบอย่างมีเหตุผล เต็มไปด้วยความรู้รอบตัว สามารถหาคำตอบเองได้จากการสังเกต เด็กจะต้องการความเป็นส่วนตัวมากขึ้น มีของสะสม และเลียนแบบการกระทำของคนที่โตกว่า เด็กวัยนี้สามารถวาดรูปทรงกระบอกมีความลึกได้ บอกเดือนถอยหลังได้ เขียนเป็นประโยค เริ่มอ่านในใจ เริ่มคิดเลขในใจ บวกลบหลายชั้น และคูณชั้นเดียว

เด็กวัยประถม เป็นช่วงที่เด็กไปโรงเรียนตั้งแต่เช้าถึงบ่ายหรือเย็นแล้วจึงกลับเข้าบ้าน จึงเกิดการเรียนรู้ทั้งที่บ้านและที่โรง เรียน เด็กวัยนี้มีความสามารถที่จะมองเหตุการณ์ในภาพรวม และมองรายละเอียด รวมทั้งเลือกที่จะสนใจจุดย่อยๆได้ เด็กจะมีความคิดเรื่องความคงที่ของวัตถุ ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนภาชนะไป มีความคิดเป็นเหตุเป็นผล สามารถคิดแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้ สามารถเข้าใจความสัมพันธ์ของตนเองต่อโลกกว้าง รู้จักแยกสิ่งของออกเป็นกลุ่ม เป็นหมวดหมู่ คิดกลับไปกลับมา และคิดในใจได้ ซึ่งเป็นก้าวสำคัญของการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์และมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในวัยนี้ คิดและมองโลกในมุมมองของผู้อื่นได้มากขึ้น ทำให้การปรับตัวเข้ากับคนอื่นทำได้ดีขึ้น


พัฒนาทางด้านร่างกาย
อายุพัฒนาการของการใช้กล้ามเนื้อใหญ่พัฒนาการของการใช้กล้ามเนื้อเล็ก
6 ปี
  • เดินบนส้นเท้าได้
  • เดินต่อเท้าถอยหลังได้
  • ใช้สองมือรับลูกบอลที่โยนมาได้
  • กระโดดไกลประมาณ 120 ซม.
  • วาดรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนได้
  • วาดรูปคนมีอย่างน้อย 6 ส่วน
  • เขียนตัวอักษรง่ายๆได้
7 ปี
  • กระโดดขาเดียวได้หลายครั้งต่อกัน
  • เดินถือของหลายชิ้นได้
  • เริ่มขี่จักรยาน 2 ล้อ
  • วาดรูปคนมีรายละเอียดมากขึ้น
  • เขียนตัวหนังสือได้ครบตามแบบ
8 ปี
  • ทรงตัวได้ดี
  • ขี่รถจักรยาน 2 ล้อได้ดี
  • วาดรูปสิ่งที่พบเห็นเป็นสัดส่วนและมีรายละเอียด
  • เขียนตัวหนังสือถูกต้องและเป็นระเบียบ
9 ปี
  • ยืนขาเดียวปิดตา 15 วินาที ทรงตัวได้ดี
  • วาดรูปทรงกระบอกมีความลึกได้
  • รูปร่าง เด็กวัยประถมต้นโดยทั่วไปจะมีรูปร่างสูงและค่อนข้างจะผอมกว่าวัยอนุบาล เด็กชายและเด็ก หญิงจะมีน้ำหนักและส่วนสูงขนาดเท่าๆกัน มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 3-3.5 กิโลกรัมต่อปี และมีความสูงเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 6 เซนติเมตร
  • ฟัน ฟันแท้ซี่แรกเริ่มขึ้นเมื่ออายุ 6 ปี ได้แก่ ฟันหน้าซี่กลางและฟันกรามซี่ที่ 1 บนและล่าง ฟันแท้ส่วนใหญ่จะขึ้นแทนที่ฟันน้ำนมและทยอยขึ้นไปจนถึงอายุ 17-21 ปี ฟันแท้มีทั้งหมด 32 ซี่ เป็นฟันบนและฟันล่างอย่างละ 16 ซี่ ฟันกรามแท้จะเริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 6 ปี ถึง 12 ปี เนื่องจากฟันกรามใช้บดเคี้ยวอาหาร จะมีลักษณะเป็นหลุมร่องมากมาย ทำความสะอาดยาก จึงควรได้รับการเคลือบหลุมร่องฟันเพื่อป้องกันฟันผุ
  • กล้ามเนื้อใหญ่ เด็กวัยประถมต้น จะมีกำลังและทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อซับซ้อนมากขึ้น การใช้และบังคับกล้ามเนื้อต่างๆจะดีขึ้นมาก เด็กจึงชอบการเคลื่อนไหวมากกว่าที่จะอยู่เฉย จึงควรส่งเสริมให้เด็กวัยนี้ได้เล่นกีฬา ได้ออกกำลังกาย ได้เคลื่อนไหว เพราะเด็กสามารถเรียนรู้และพัฒนาความสามารถต่างๆผ่านการเล่น ไม่ว่าจะเป็น ไล่จับ ซ่อนหา หรือเล่นกีฬาต่างๆทั้งว่ายน้ำ เตะฟุตบอล กระโดดเชือก ขี่จักรยาน เป็นต้น การเคลื่อน ไหวจะทำให้สุขภาพแข็งแรง มีการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ เด็กบางคนที่มีนิสัยนั่งเฉยๆ หรือไม่ค่อยออกกำลังกายจึงมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนมากขึ้น
  • กล้ามเนื้อมัดเล็ก เด็กสามารถใช้มือและนิ้วจับดินสอได้ดีมากขึ้น สามารถเขียนหรือวาดรูปต่างๆที่ซับซ้อนขึ้น สามารถทำงานที่ประณีตอย่างงานปั้น งานแกะสลักได้ นอกจากนี้การประสานงานของระบบประสาทและการเคลื่อนไหวก็จะทำงานสอดคล้องกันได้เป็นอย่างดี เด็กจึงมีกิจกรรมต่างๆอยู่ตลอดเวลาและมักจะประกอบกิจกรรมนั้นๆอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย

  • พัฒนาการทางด้านอารมณ์
  • มีความสุข ร่าเริง ปิติเบิกบาน เด็กวัยประถมต้นเป็นวัยที่มีความสุข มีความพึงพอใจเกี่ยวกับวัยของตนอย่างมาก มีความสนุกสนานในการเล่น เพราะใช้เวลาส่วนมากอยู่กับเพื่อน เริ่มเรียนรู้ที่จะให้ความร่วมมือ รู้จักให้และรับ หากถามผู้ ใหญ่ว่าวัยไหนเป็นวัยที่มีความสุขที่สุด ส่วนมากจะตอบว่าวัยประถม ผู้ใหญ่บางคนสามารถเล่าเหตุการณ์และประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในวัยนี้ได้เป็นอย่างดี จึงไม่ยากนักที่ผู้ใหญ่รอบตัวจะช่วยให้เด็กวัยนี้มีความสุข
  • มีความกลัวต่างๆ เช่น กลัวสัตว์ กลัวงู กลัวความมืด กลัวที่สูง กลัวฟ้าผ่า ฟ้าร้อง แต่สิ่งที่กลัวที่สุดก็คือ กลัวถูกล้อ เพราะมีความแตกต่างกับเพื่อน นอกจากความกลัว ยังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเรียน กลัวว่าจะสอบไม่ได้ กลัวถูกทำโทษ หรือกลัวเพื่อนไม่ชอบ เด็กบางคนจึงมีอาการเศร้าซึม ไม่ตั้งใจเรียน หลับในห้องเรียน อยู่ไม่นิ่ง มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย หรือแสดงพฤติกรรมที่น่าแปลกใจ
  • มีอารมณ์โกรธ อาจจะมีการแสดงออกทางอารมณ์แตกต่างกันระหว่างเด็กหญิงและเด็กชาย มีทั้งการทำร้ายร่างกาย ต่อ สู้กันด้วยวาจา ล้อ ตั้งสมญา พูดถากถาง ขู่ หรือไม่พูดด้วย หากเด็กแสดงความโกรธ ด้วยการทำร้ายผู้อื่น ผู้ใหญ่ควรอธิบายให้เด็กเข้าใจพฤติกรรมที่ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม และหาตัวอย่างเพื่อนในวัยเดียวกันที่มีพฤติกรรมที่ดี ที่จะเป็นตัวอย่างได้ ผู้ใหญ่ควรชมเชยที่เด็กสามารถระงับความโกรธและแสดงออกในทางที่เหมาะสม การลงโทษเด็กด้วยการตีหรือทำให้เจ็บ เป็นเรื่องที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะไม่แก้ไขพฤติกรรมที่ก้าวร้าวนั้น ยังเป็นการส่งเสริมให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าวมากยิ่งขึ้น
  • พัฒนาการทางด้านสังคม
  • เด็กสนใจที่จะเรียน เล่น และทำกิจกรรมกับเพื่อนมากขึ้น เพื่อนมีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพของเด็กมากกว่าพ่อแม่หรือผู้ใหญ่
  • เด็กจะรู้ความแตกต่างระหว่างเพศ มีพัฒนาการทางบุคลิกภาพ เด็กผู้ชายจะแสดงความเป็นผู้ชาย และหญิงจะแสดงความเป็นผู้หญิง เป็นวัยของการเรียนรู้หน้าที่ทางเพศของตนเอง เด็กชายและเด็กหญิงให้ความสนใจซึ่งกันและกัน เด็กชายจะรู้จักหยอกล้อเด็กหญิง ส่วนเด็กหญิงจะทำที่ไม่สนใจหรือแสดงอาการโกรธ โมโห
  • สนใจการแข่งขัน การเปรียบเทียบกันในสังคม
  • สนใจธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
  • สามารถสร้างมาตรฐานแนวปฏิบัติของกลุ่มที่มีแบบอย่างเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ และนำมาปฏิบัติโดยไม่บอกผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเรื่องการเล่น จะสามารถสร้างระเบียบกติกาขึ้นเองไว้เป็นแนวปฏิบัติ
  • รับรู้ความสามารถของตนและของเพื่อน เด็กจะเข้ากลุ่ม มีความรู้สึกยอมรับและไม่ยอมรับในกลุ่มเพื่อน เด็กที่เพื่อนยอมรับเข้ากลุ่มและมีชื่อเสียงในกลุ่มเพื่อน จะพัฒนาการทางสังคมได้ดี สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับคนอื่น เรียนรู้ถึงความรู้สึกของคนอื่นได้ดี
  • มีความสามารถทางภาษาเพิ่มขึ้น ช่วยให้การเรียนรู้ทางสังคมขยายกว้าง เด็กวัยนี้อ่านหนังสือมากขึ้น
  • ลดการยึดตนเองเป็นศูนย์กลางลง มีความคิดกว้างขึ้น มีความเข้าใจและเห็นใจผู้อื่น เริ่มมีเหตุผล จึงตัดสินใจสิ่งต่างอย่างมีเหตุผลมากขึ้นโดยดูการกระทำที่มาเกี่ยวข้องด้วย
  • สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น
  • มีความรับผิดชอบ ช่วยเหลือตนเอง รู้การปฏิบัติตนในสังคม มีมารยาททางสังคมมากขึ้น
  • อายุ 6 ปี ยังคิดถึงแต่เรื่องที่เกี่ยวข้องอยู่ ความสนใจกิจกรรมในเวลาสั้นๆ แล้วเปลี่ยนไป ไม่สนใจว่างานจะสำเร็จหรือไม่ เด็กจะสนใจและกระตือรือร้นทำงานที่ตนเองชอบ
  • อายุ 7 ปี มีความพยายามที่จะทำให้งานสำเร็จมีมากกว่าวัย 6 ปี มีความอยากรู้อยากเห็นมากขึ้น แต่จะทำงานทีละอย่างได้ดีกว่าการให้ทำกิจกรรมทีเดียวหลายอย่าง
  • อายุ 8 ปี มีความสนใจที่จะทำงานให้สำเร็จ สนใจที่จะทำสิ่งใหม่ๆ มีสมาธิมากขึ้น รับฟังคำแนะนำในการทำงานมากขึ้น มีความสามารถในการเล่นต่างๆ สามารถแสดงละครง่ายๆ ได้ จะมีความอยากรู้อยากเห็น สนใจซักถามมากขึ้น
  • อายุ 9 ปี สามารถแก้ปัญหาและรู้จักหาเหตุผลโดยอาศัยการสังเกต ต้องการอิสรภาพเพิ่มขึ้น มีความรู้ในด้านภาษา และความรู้รอบตัวกว้างขึ้น ชอบอ่านหนังสือที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริง สนใจที่จะสะสมสิ่งของ และจะเลียนแบบการกระทำต่างๆ ของคนอื่น
พ่อแม่ ผู้ปกครองจะจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมให้ลูกได้อย่างไร?
  • จัดกิจกรรมการเล่นที่เหมาะสมกับวัย ลูกจะสนใจเล่นกับกลุ่มเพื่อนอย่างอิสระจากผู้ใหญ่ และจะเริ่มกำหนดแนวปฏิบัติการเล่นเอง
  • ส่งเสริมให้อ่านหนังสือ การอ่านหนังสือมีความสำคัญสำหรับเด็กวัยนี้ หนังสือสำหรับเด็กควรเกี่ยวกับสังคม หรือโลกภายนอก เด็กจะสนใจเรื่องที่เป็นจริงมากกว่าวัยอนุบาล สนใจเรื่องราวที่มีเหตุผลมากขึ้น
  • เด็กควรเรียนในโรงเรียนที่ขนาดพอเหมาะกับจำนวนนักเรียน เพื่อให้เด็กมีโอกาสเข้ากลุ่มเพื่อน ได้รับการยอมรับจากเพื่อน เขาจะรู้สึกดีและเกิดความอบอุ่นที่ได้ร่วมกิจกรรมกับเพื่อน เกิดความรู้สึกว่าตนมีคุณค่า
  • สนับสนุนให้เด็กมีกลุ่มตามความสนใจ เช่น การเข้าเป็นสมาชิกชมรมคนรักหนังสือ สมาชิกลูกเสือ เพื่อจะทำให้เด็กมีกลุ่มเพื่อนที่สนใจสิ่งเดียวกัน
  • จัดสภาพสิ่งแวดล้อมในครอบครัวที่เอื้อต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับโลกภายนอกอย่างเหมาะสม เช่น มีหนังสือสำหรับเด็ก หนังสือพิมพ์ นิตยสาร โทรทัศน์รายการที่เหมาะสมตามวัย พ่อแม่มีบทบาทที่จัดเวลาการดูโทรทัศน์ และเลือกรายการให้แก่เด็ก และผู้ใหญ่อ่านข่าว ฟังข่าวเอาใจใส่เหตุการณรอบตัวให้เด็กเห็นแบบอย่าง
  • จัดกิจกรรมทางศาสนาให้เด็กได้ซึมซับและมีทัศนคติที่ดีต่อศาสนา เช่น การไปวัดฟังเทศน์ ตักบาตรทำบุญ เวียนเทียนในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันเข้าพรรษา วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา เป็นต้น เพื่อให้เด็กมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นคนดีในสังคม
  • เป็นแบบอย่างการเข้าสังคมที่ดีให้เด็กเห็น ถึงแม้ว่าเด็กวัยนี้จะสนใจเพื่อนมากกว่าพ่อแม่ก็ตาม แต่พ่อแม่ยังเป็นผู้มีอิทธิพลที่เด็กจะเรียนรู้การอยู่ในสังคมที่ถูกต้อง เช่น การที่พ่อแม่แสดงมารยาททางสังคม ใช้ภาษาที่เหมาะสมกับผู้อื่น เด็กจะรับไปเป็นประสบการณ์ของตนเองในการใช้มารยาทนั้น
  • ปลูกฝังให้ลูกมีวัฒนธรรมไทย ด้วยการแสดงออกด้วยท่าทีแบบไทยๆ เช่นการอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ การพูดสุภาพ เบา ทอดหางสียงอย่างอ่อนโยน การทักทายผู้อื่นและไหว้ตามธรรมเนียมไทยที่ถูกต้องเหมาะสมกับวัย หรือสถานะของผู้นั้น เช่น ไหว้พระ ไหว้พ่อแม่ ครู จะแตกต่างกัน เป็นต้น การร่วมประเพณีไทยเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในสังคมไทยและร่วมดำรงรักษาประเพณีไว้สืบต่อไป
  • มอบหมายงานบ้านให้เด็กรับผิดชอบ ให้เด็กได้ทำหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติพื้นฐานให้เด็กทำหน้าที่ของต่อตนเองคือ ช่วยเหลือตนเองและและในฐานะสมาชิกของสังคมต่อไป การทำงานของเด็กวัยนี้อาจจะทำร่วมกับพ่อแม่ก็ได้ เด็กจะอยู่ในบรรยากาศครอบครัวอบอุ่น เห็นถึงความรัก และการเอาใจใส่ ช่วยเหลือกันและกัน เป็นการสร้างความผูกพันรักใคร่ในครอบครัวซึ่งเป็นสิ่งที่เหมาะสมของการเรียนรู้สังคมของเด็ก
  • ชวนเด็กทำกิจกรรมทางสังคมร่วมกับพ่อแม่และชุมชน เช่น กิจกรรมปลูกต้นไม้ในวันพืชมงคล กิจกรรมชุมชนสีเขียว (ทำความสะอาดชุมชน) ร่วมเดินเทิดพระเกียรติวัน 12 สิงหาฯ มหาราชินี เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้เด็กจะได้มีโอกาสเห็นการเข้าสังคมเป็นประโยชน์ต่อสังคมที่ตนเองอยู่ เห็นมารยาทที่ปฏิบัติต่อกัน และแต่ละคนมีความเสียสละ


  • วัยประถมต้นเป็นช่วงเวลาที่เด็กถูกคาดหวังให้มีความรู้เบื้องต้นที่จำเป็นต่อการปรับตัวในชีวิตตอนเป็นผู้ใหญ่ และเรียนรู้ทักษะที่สำคัญบางอย่าง ทั้งในหลักสูตรและนอกหลักสูตรของโรงเรียน ดังนั้นพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กวัยนี้จึงมีทั้งความสุขและความทุกข์เกิดขึ้น ดังนี้
    • เด็กวัยนี้มีลักษณะและพฤติกรรมที่เฉพาะตัวทุกด้าน มีสมรรถนะและพัฒนาการ ดังนี้
      สมรรถนะตามวัย มีดังนี้
      พัฒนาการของเด็กวัย 6-9 ปี จะมีลักษณะเฉพาะตัว พ่อแม่ควรสนใจที่จะส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมของลูกให้เหมาะกับระดับความสามรถของเขา เพื่อลูกจะได้เจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ ดังนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น