วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2558

พัฒนาการของเด็กประถม


พัฒนาการของเด็กประถม





พัฒนาการทางด้านสติปัญญา

จากวัยอนุบาลมาเป็นเด็กประถมที่รู้จักเหตุและผล มีความคิดเป็นของตนเอง สามารถแก้ไขปัญหา พร้อมเรียนรู้โลกกว้างในกรอบของระเบียบวินัยจึงทำให้สามารถมองเห็นพัฒนาการด้านสติปัญญาที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน ดังนี้
อายุ 6 ขวบ เริ่มต้นวัยประถม เด็กวัยนี้มีความสนใจกิจกรรมและงานของตนเองนานขึ้น มีความกระตือรือร้น สนใจของแปลก ใหม่ แต่หากมีสิ่งที่น่าสนใจกว่า อาจหันไปสนใจของอีกอย่างได้ทันที นอกจากนี้สามารถวาดรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน วาดรูปคน เขียนตัวอักษรง่ายๆได้ รู้ซ้ายขวา นับ 1-30 ได้ สามารถอธิบายความหมายของคำ และบอกความแตกต่างของ 2 สิ่งได้อายุ 7 ขวบ วัยประถมเต็มตัว เมื่อเด็กมีความสนใจสิ่งใดแล้ว จะพยายามทำให้สำเร็จ มีความอยากรู้อยากเห็น เข้าใจเรื่องเหตุและผลมากขึ้น สามารถจดจำระยะเวลา อดีตและปัจจุบันได้ มีความสนใจที่ยาวนานขึ้น แต่ยังไม่สามารถทำอะไรหลายอย่างได้พร้อมกัน เด็กวัยนี้สามารถวาดรูปคนมีรายละเอียดมากขึ้น เขียนตัวหนังสือได้ครบตามแบบ บอกวันในสัปดาห์ เปรียบ เทียบขนาดใหญ่ เล็ก เท่ากัน แก้ปัญหาได้ บวก ลบ เลขง่ายๆ และบอกเวลาก่อน-หลังได้

อายุ 8 ขวบ วัยแห่งการเรียนรู้ เด็กวัยประถมจะสนใจและจดจ่อกับงานที่ได้รับมอบหมาย และหมกมุ่นจนกว่างานนั้นจะสำเร็จ เข้าใจคำสั่งและตั้งใจทำงานให้ดีกว่าเดิม เด็กวัยนี้วาดรูปสิ่งที่พบเห็นเป็นสัดส่วนและมีรายละเอียด เขียนตัวหนังสือถูกต้อง เป็นระเบียบ บอกเดือนของปีได้ สะกดคำง่ายๆได้ ฟังเรื่องราวแล้วเข้าใจเนื้อหาและขั้นตอนได้ เปรียบเทียบสิ่งที่เหมือนกัน และสามารถเข้าใจปริมาตร
อายุ 9 ขวบ ซึมซับความรู้ วิธีการพูดของเด็กจะเปลี่ยนแปลงไป มีการใช้ภาษาที่ซับซ้อนขึ้น รู้จักถาม-ตอบอย่างมีเหตุผล เต็มไปด้วยความรู้รอบตัว สามารถหาคำตอบเองได้จากการสังเกต เด็กจะต้องการความเป็นส่วนตัวมากขึ้น มีของสะสม และเลียนแบบการกระทำของคนที่โตกว่า เด็กวัยนี้สามารถวาดรูปทรงกระบอกมีความลึกได้ บอกเดือนถอยหลังได้ เขียนเป็นประโยค เริ่มอ่านในใจ เริ่มคิดเลขในใจ บวกลบหลายชั้น และคูณชั้นเดียว

เด็กวัยประถม เป็นช่วงที่เด็กไปโรงเรียนตั้งแต่เช้าถึงบ่ายหรือเย็นแล้วจึงกลับเข้าบ้าน จึงเกิดการเรียนรู้ทั้งที่บ้านและที่โรง เรียน เด็กวัยนี้มีความสามารถที่จะมองเหตุการณ์ในภาพรวม และมองรายละเอียด รวมทั้งเลือกที่จะสนใจจุดย่อยๆได้ เด็กจะมีความคิดเรื่องความคงที่ของวัตถุ ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนภาชนะไป มีความคิดเป็นเหตุเป็นผล สามารถคิดแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้ สามารถเข้าใจความสัมพันธ์ของตนเองต่อโลกกว้าง รู้จักแยกสิ่งของออกเป็นกลุ่ม เป็นหมวดหมู่ คิดกลับไปกลับมา และคิดในใจได้ ซึ่งเป็นก้าวสำคัญของการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์และมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในวัยนี้ คิดและมองโลกในมุมมองของผู้อื่นได้มากขึ้น ทำให้การปรับตัวเข้ากับคนอื่นทำได้ดีขึ้น


พัฒนาทางด้านร่างกาย
อายุพัฒนาการของการใช้กล้ามเนื้อใหญ่พัฒนาการของการใช้กล้ามเนื้อเล็ก
6 ปี
  • เดินบนส้นเท้าได้
  • เดินต่อเท้าถอยหลังได้
  • ใช้สองมือรับลูกบอลที่โยนมาได้
  • กระโดดไกลประมาณ 120 ซม.
  • วาดรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนได้
  • วาดรูปคนมีอย่างน้อย 6 ส่วน
  • เขียนตัวอักษรง่ายๆได้
7 ปี
  • กระโดดขาเดียวได้หลายครั้งต่อกัน
  • เดินถือของหลายชิ้นได้
  • เริ่มขี่จักรยาน 2 ล้อ
  • วาดรูปคนมีรายละเอียดมากขึ้น
  • เขียนตัวหนังสือได้ครบตามแบบ
8 ปี
  • ทรงตัวได้ดี
  • ขี่รถจักรยาน 2 ล้อได้ดี
  • วาดรูปสิ่งที่พบเห็นเป็นสัดส่วนและมีรายละเอียด
  • เขียนตัวหนังสือถูกต้องและเป็นระเบียบ
9 ปี
  • ยืนขาเดียวปิดตา 15 วินาที ทรงตัวได้ดี
  • วาดรูปทรงกระบอกมีความลึกได้
  • รูปร่าง เด็กวัยประถมต้นโดยทั่วไปจะมีรูปร่างสูงและค่อนข้างจะผอมกว่าวัยอนุบาล เด็กชายและเด็ก หญิงจะมีน้ำหนักและส่วนสูงขนาดเท่าๆกัน มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 3-3.5 กิโลกรัมต่อปี และมีความสูงเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 6 เซนติเมตร
  • ฟัน ฟันแท้ซี่แรกเริ่มขึ้นเมื่ออายุ 6 ปี ได้แก่ ฟันหน้าซี่กลางและฟันกรามซี่ที่ 1 บนและล่าง ฟันแท้ส่วนใหญ่จะขึ้นแทนที่ฟันน้ำนมและทยอยขึ้นไปจนถึงอายุ 17-21 ปี ฟันแท้มีทั้งหมด 32 ซี่ เป็นฟันบนและฟันล่างอย่างละ 16 ซี่ ฟันกรามแท้จะเริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 6 ปี ถึง 12 ปี เนื่องจากฟันกรามใช้บดเคี้ยวอาหาร จะมีลักษณะเป็นหลุมร่องมากมาย ทำความสะอาดยาก จึงควรได้รับการเคลือบหลุมร่องฟันเพื่อป้องกันฟันผุ
  • กล้ามเนื้อใหญ่ เด็กวัยประถมต้น จะมีกำลังและทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อซับซ้อนมากขึ้น การใช้และบังคับกล้ามเนื้อต่างๆจะดีขึ้นมาก เด็กจึงชอบการเคลื่อนไหวมากกว่าที่จะอยู่เฉย จึงควรส่งเสริมให้เด็กวัยนี้ได้เล่นกีฬา ได้ออกกำลังกาย ได้เคลื่อนไหว เพราะเด็กสามารถเรียนรู้และพัฒนาความสามารถต่างๆผ่านการเล่น ไม่ว่าจะเป็น ไล่จับ ซ่อนหา หรือเล่นกีฬาต่างๆทั้งว่ายน้ำ เตะฟุตบอล กระโดดเชือก ขี่จักรยาน เป็นต้น การเคลื่อน ไหวจะทำให้สุขภาพแข็งแรง มีการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ เด็กบางคนที่มีนิสัยนั่งเฉยๆ หรือไม่ค่อยออกกำลังกายจึงมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนมากขึ้น
  • กล้ามเนื้อมัดเล็ก เด็กสามารถใช้มือและนิ้วจับดินสอได้ดีมากขึ้น สามารถเขียนหรือวาดรูปต่างๆที่ซับซ้อนขึ้น สามารถทำงานที่ประณีตอย่างงานปั้น งานแกะสลักได้ นอกจากนี้การประสานงานของระบบประสาทและการเคลื่อนไหวก็จะทำงานสอดคล้องกันได้เป็นอย่างดี เด็กจึงมีกิจกรรมต่างๆอยู่ตลอดเวลาและมักจะประกอบกิจกรรมนั้นๆอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย

  • พัฒนาการทางด้านอารมณ์
  • มีความสุข ร่าเริง ปิติเบิกบาน เด็กวัยประถมต้นเป็นวัยที่มีความสุข มีความพึงพอใจเกี่ยวกับวัยของตนอย่างมาก มีความสนุกสนานในการเล่น เพราะใช้เวลาส่วนมากอยู่กับเพื่อน เริ่มเรียนรู้ที่จะให้ความร่วมมือ รู้จักให้และรับ หากถามผู้ ใหญ่ว่าวัยไหนเป็นวัยที่มีความสุขที่สุด ส่วนมากจะตอบว่าวัยประถม ผู้ใหญ่บางคนสามารถเล่าเหตุการณ์และประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในวัยนี้ได้เป็นอย่างดี จึงไม่ยากนักที่ผู้ใหญ่รอบตัวจะช่วยให้เด็กวัยนี้มีความสุข
  • มีความกลัวต่างๆ เช่น กลัวสัตว์ กลัวงู กลัวความมืด กลัวที่สูง กลัวฟ้าผ่า ฟ้าร้อง แต่สิ่งที่กลัวที่สุดก็คือ กลัวถูกล้อ เพราะมีความแตกต่างกับเพื่อน นอกจากความกลัว ยังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเรียน กลัวว่าจะสอบไม่ได้ กลัวถูกทำโทษ หรือกลัวเพื่อนไม่ชอบ เด็กบางคนจึงมีอาการเศร้าซึม ไม่ตั้งใจเรียน หลับในห้องเรียน อยู่ไม่นิ่ง มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย หรือแสดงพฤติกรรมที่น่าแปลกใจ
  • มีอารมณ์โกรธ อาจจะมีการแสดงออกทางอารมณ์แตกต่างกันระหว่างเด็กหญิงและเด็กชาย มีทั้งการทำร้ายร่างกาย ต่อ สู้กันด้วยวาจา ล้อ ตั้งสมญา พูดถากถาง ขู่ หรือไม่พูดด้วย หากเด็กแสดงความโกรธ ด้วยการทำร้ายผู้อื่น ผู้ใหญ่ควรอธิบายให้เด็กเข้าใจพฤติกรรมที่ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม และหาตัวอย่างเพื่อนในวัยเดียวกันที่มีพฤติกรรมที่ดี ที่จะเป็นตัวอย่างได้ ผู้ใหญ่ควรชมเชยที่เด็กสามารถระงับความโกรธและแสดงออกในทางที่เหมาะสม การลงโทษเด็กด้วยการตีหรือทำให้เจ็บ เป็นเรื่องที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะไม่แก้ไขพฤติกรรมที่ก้าวร้าวนั้น ยังเป็นการส่งเสริมให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าวมากยิ่งขึ้น
  • พัฒนาการทางด้านสังคม
  • เด็กสนใจที่จะเรียน เล่น และทำกิจกรรมกับเพื่อนมากขึ้น เพื่อนมีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพของเด็กมากกว่าพ่อแม่หรือผู้ใหญ่
  • เด็กจะรู้ความแตกต่างระหว่างเพศ มีพัฒนาการทางบุคลิกภาพ เด็กผู้ชายจะแสดงความเป็นผู้ชาย และหญิงจะแสดงความเป็นผู้หญิง เป็นวัยของการเรียนรู้หน้าที่ทางเพศของตนเอง เด็กชายและเด็กหญิงให้ความสนใจซึ่งกันและกัน เด็กชายจะรู้จักหยอกล้อเด็กหญิง ส่วนเด็กหญิงจะทำที่ไม่สนใจหรือแสดงอาการโกรธ โมโห
  • สนใจการแข่งขัน การเปรียบเทียบกันในสังคม
  • สนใจธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
  • สามารถสร้างมาตรฐานแนวปฏิบัติของกลุ่มที่มีแบบอย่างเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ และนำมาปฏิบัติโดยไม่บอกผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเรื่องการเล่น จะสามารถสร้างระเบียบกติกาขึ้นเองไว้เป็นแนวปฏิบัติ
  • รับรู้ความสามารถของตนและของเพื่อน เด็กจะเข้ากลุ่ม มีความรู้สึกยอมรับและไม่ยอมรับในกลุ่มเพื่อน เด็กที่เพื่อนยอมรับเข้ากลุ่มและมีชื่อเสียงในกลุ่มเพื่อน จะพัฒนาการทางสังคมได้ดี สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับคนอื่น เรียนรู้ถึงความรู้สึกของคนอื่นได้ดี
  • มีความสามารถทางภาษาเพิ่มขึ้น ช่วยให้การเรียนรู้ทางสังคมขยายกว้าง เด็กวัยนี้อ่านหนังสือมากขึ้น
  • ลดการยึดตนเองเป็นศูนย์กลางลง มีความคิดกว้างขึ้น มีความเข้าใจและเห็นใจผู้อื่น เริ่มมีเหตุผล จึงตัดสินใจสิ่งต่างอย่างมีเหตุผลมากขึ้นโดยดูการกระทำที่มาเกี่ยวข้องด้วย
  • สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น
  • มีความรับผิดชอบ ช่วยเหลือตนเอง รู้การปฏิบัติตนในสังคม มีมารยาททางสังคมมากขึ้น
  • อายุ 6 ปี ยังคิดถึงแต่เรื่องที่เกี่ยวข้องอยู่ ความสนใจกิจกรรมในเวลาสั้นๆ แล้วเปลี่ยนไป ไม่สนใจว่างานจะสำเร็จหรือไม่ เด็กจะสนใจและกระตือรือร้นทำงานที่ตนเองชอบ
  • อายุ 7 ปี มีความพยายามที่จะทำให้งานสำเร็จมีมากกว่าวัย 6 ปี มีความอยากรู้อยากเห็นมากขึ้น แต่จะทำงานทีละอย่างได้ดีกว่าการให้ทำกิจกรรมทีเดียวหลายอย่าง
  • อายุ 8 ปี มีความสนใจที่จะทำงานให้สำเร็จ สนใจที่จะทำสิ่งใหม่ๆ มีสมาธิมากขึ้น รับฟังคำแนะนำในการทำงานมากขึ้น มีความสามารถในการเล่นต่างๆ สามารถแสดงละครง่ายๆ ได้ จะมีความอยากรู้อยากเห็น สนใจซักถามมากขึ้น
  • อายุ 9 ปี สามารถแก้ปัญหาและรู้จักหาเหตุผลโดยอาศัยการสังเกต ต้องการอิสรภาพเพิ่มขึ้น มีความรู้ในด้านภาษา และความรู้รอบตัวกว้างขึ้น ชอบอ่านหนังสือที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริง สนใจที่จะสะสมสิ่งของ และจะเลียนแบบการกระทำต่างๆ ของคนอื่น
พ่อแม่ ผู้ปกครองจะจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมให้ลูกได้อย่างไร?
  • จัดกิจกรรมการเล่นที่เหมาะสมกับวัย ลูกจะสนใจเล่นกับกลุ่มเพื่อนอย่างอิสระจากผู้ใหญ่ และจะเริ่มกำหนดแนวปฏิบัติการเล่นเอง
  • ส่งเสริมให้อ่านหนังสือ การอ่านหนังสือมีความสำคัญสำหรับเด็กวัยนี้ หนังสือสำหรับเด็กควรเกี่ยวกับสังคม หรือโลกภายนอก เด็กจะสนใจเรื่องที่เป็นจริงมากกว่าวัยอนุบาล สนใจเรื่องราวที่มีเหตุผลมากขึ้น
  • เด็กควรเรียนในโรงเรียนที่ขนาดพอเหมาะกับจำนวนนักเรียน เพื่อให้เด็กมีโอกาสเข้ากลุ่มเพื่อน ได้รับการยอมรับจากเพื่อน เขาจะรู้สึกดีและเกิดความอบอุ่นที่ได้ร่วมกิจกรรมกับเพื่อน เกิดความรู้สึกว่าตนมีคุณค่า
  • สนับสนุนให้เด็กมีกลุ่มตามความสนใจ เช่น การเข้าเป็นสมาชิกชมรมคนรักหนังสือ สมาชิกลูกเสือ เพื่อจะทำให้เด็กมีกลุ่มเพื่อนที่สนใจสิ่งเดียวกัน
  • จัดสภาพสิ่งแวดล้อมในครอบครัวที่เอื้อต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับโลกภายนอกอย่างเหมาะสม เช่น มีหนังสือสำหรับเด็ก หนังสือพิมพ์ นิตยสาร โทรทัศน์รายการที่เหมาะสมตามวัย พ่อแม่มีบทบาทที่จัดเวลาการดูโทรทัศน์ และเลือกรายการให้แก่เด็ก และผู้ใหญ่อ่านข่าว ฟังข่าวเอาใจใส่เหตุการณรอบตัวให้เด็กเห็นแบบอย่าง
  • จัดกิจกรรมทางศาสนาให้เด็กได้ซึมซับและมีทัศนคติที่ดีต่อศาสนา เช่น การไปวัดฟังเทศน์ ตักบาตรทำบุญ เวียนเทียนในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันเข้าพรรษา วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา เป็นต้น เพื่อให้เด็กมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นคนดีในสังคม
  • เป็นแบบอย่างการเข้าสังคมที่ดีให้เด็กเห็น ถึงแม้ว่าเด็กวัยนี้จะสนใจเพื่อนมากกว่าพ่อแม่ก็ตาม แต่พ่อแม่ยังเป็นผู้มีอิทธิพลที่เด็กจะเรียนรู้การอยู่ในสังคมที่ถูกต้อง เช่น การที่พ่อแม่แสดงมารยาททางสังคม ใช้ภาษาที่เหมาะสมกับผู้อื่น เด็กจะรับไปเป็นประสบการณ์ของตนเองในการใช้มารยาทนั้น
  • ปลูกฝังให้ลูกมีวัฒนธรรมไทย ด้วยการแสดงออกด้วยท่าทีแบบไทยๆ เช่นการอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ การพูดสุภาพ เบา ทอดหางสียงอย่างอ่อนโยน การทักทายผู้อื่นและไหว้ตามธรรมเนียมไทยที่ถูกต้องเหมาะสมกับวัย หรือสถานะของผู้นั้น เช่น ไหว้พระ ไหว้พ่อแม่ ครู จะแตกต่างกัน เป็นต้น การร่วมประเพณีไทยเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในสังคมไทยและร่วมดำรงรักษาประเพณีไว้สืบต่อไป
  • มอบหมายงานบ้านให้เด็กรับผิดชอบ ให้เด็กได้ทำหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติพื้นฐานให้เด็กทำหน้าที่ของต่อตนเองคือ ช่วยเหลือตนเองและและในฐานะสมาชิกของสังคมต่อไป การทำงานของเด็กวัยนี้อาจจะทำร่วมกับพ่อแม่ก็ได้ เด็กจะอยู่ในบรรยากาศครอบครัวอบอุ่น เห็นถึงความรัก และการเอาใจใส่ ช่วยเหลือกันและกัน เป็นการสร้างความผูกพันรักใคร่ในครอบครัวซึ่งเป็นสิ่งที่เหมาะสมของการเรียนรู้สังคมของเด็ก
  • ชวนเด็กทำกิจกรรมทางสังคมร่วมกับพ่อแม่และชุมชน เช่น กิจกรรมปลูกต้นไม้ในวันพืชมงคล กิจกรรมชุมชนสีเขียว (ทำความสะอาดชุมชน) ร่วมเดินเทิดพระเกียรติวัน 12 สิงหาฯ มหาราชินี เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้เด็กจะได้มีโอกาสเห็นการเข้าสังคมเป็นประโยชน์ต่อสังคมที่ตนเองอยู่ เห็นมารยาทที่ปฏิบัติต่อกัน และแต่ละคนมีความเสียสละ


  • วัยประถมต้นเป็นช่วงเวลาที่เด็กถูกคาดหวังให้มีความรู้เบื้องต้นที่จำเป็นต่อการปรับตัวในชีวิตตอนเป็นผู้ใหญ่ และเรียนรู้ทักษะที่สำคัญบางอย่าง ทั้งในหลักสูตรและนอกหลักสูตรของโรงเรียน ดังนั้นพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กวัยนี้จึงมีทั้งความสุขและความทุกข์เกิดขึ้น ดังนี้
    • เด็กวัยนี้มีลักษณะและพฤติกรรมที่เฉพาะตัวทุกด้าน มีสมรรถนะและพัฒนาการ ดังนี้
      สมรรถนะตามวัย มีดังนี้
      พัฒนาการของเด็กวัย 6-9 ปี จะมีลักษณะเฉพาะตัว พ่อแม่ควรสนใจที่จะส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมของลูกให้เหมาะกับระดับความสามรถของเขา เพื่อลูกจะได้เจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ ดังนี้

พัฒนาการด้านอารมณ์

พัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กประถม

พัฒนาการด้านอารมณ์วัยประถมต้นสำคัญอย่างไร?

เด็กวัยประถมต้น เรียนรู้ และรู้จักอารมณ์ทุกอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นความกลัว ความวิตกกังวล ความโกรธ ความสนุก ความสุข ความเบิกบาน ความสำคัญอยู่ที่ผู้ใหญ่รอบตัวได้ชี้ให้เด็กเห็นถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคล มองข้ามความไม่ถูกใจ ชี้ให้ เห็นข้อดีของคนอื่น และมีการแสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสม เรียนรู้เรื่องความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้จักแพ้ รู้จักผิดหวัง และรู้จักพยายามทำใหม่ในครั้งต่อไป การเตรียมตัวลูกให้ปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีแนวทางที่ถูกต้องในการพัฒนาชีวิตให้พ้นจากความทุกข์ และเข้าถึงความสุขที่แท้จริง นั่นคือความฉลาดในการเกิดเป็นมนุษย์
คนเรามีโอกาสที่จะฉลาดอยู่ตลอดเวลา แม้ในโอกาสที่มีการกระทบกระทั่ง เกิดความกดดัน มีสิ่งคุกคาม ถ้าเด็กเป็นนักศึกษาเรียนรู้ชีวิต พร้อมที่จะเรียนรู้ทบทวนจากประสบการณ์ในอดีต เพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน เพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและมีความสุขได้ในอนาคต แล้วเป็นความสุขที่ประกอบด้วยความฉลาด รู้อะไรควร-ไม่ควร สามารถปล่อยวางสิ่งที่ไร้แก่นสาระ ไม่หวั่นไหวตามการแปรปรวนของสิ่งภายนอก ทำยากแต่ไม่เหลือวิสัย จะทำให้สามารถประสบความสำเร็จในการปฏิบัติเพื่อพัฒนากาย วาจา ใจ ให้มีคุณภาพ ทำหน้าที่ต่างๆด้วยจิตใจที่ไม่เศร้าหมอง ไม่หวั่นไหว มีความสุข สะอาด สดชื่น และมีความคิดที่จะสร้างประโยชน์ให้แก่ชีวิตของเด็กได้

เด็กวัยประถมต้นมีสมรรถนะและพัฒนาการด้านอารมณ์อย่างไร?

วัยประถมต้นเป็นช่วงเวลาที่เด็กถูกคาดหวังให้มีความรู้เบื้องต้นที่จำเป็นต่อการปรับตัวในชีวิตตอนเป็นผู้ใหญ่ และเรียนรู้ทักษะที่สำคัญบางอย่าง ทั้งในหลักสูตรและนอกหลักสูตรของโรงเรียน ดังนั้นพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กวัยนี้จึงมีทั้งความสุขและความทุกข์เกิดขึ้น ดังนี้
  • มีความสุข ร่าเริง ปิติเบิกบาน เด็กวัยประถมต้นเป็นวัยที่มีความสุข มีความพึงพอใจเกี่ยวกับวัยของตนอย่างมาก มีความสนุกสนานในการเล่น เพราะใช้เวลาส่วนมากอยู่กับเพื่อน เริ่มเรียนรู้ที่จะให้ความร่วมมือ รู้จักให้และรับ หากถามผู้ ใหญ่ว่าวัยไหนเป็นวัยที่มีความสุขที่สุด ส่วนมากจะตอบว่าวัยประถม ผู้ใหญ่บางคนสามารถเล่าเหตุการณ์และประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในวัยนี้ได้เป็นอย่างดี จึงไม่ยากนักที่ผู้ใหญ่รอบตัวจะช่วยให้เด็กวัยนี้มีความสุข
  • มีความกลัวต่างๆ เช่น กลัวสัตว์ กลัวงู กลัวความมืด กลัวที่สูง กลัวฟ้าผ่า ฟ้าร้อง แต่สิ่งที่กลัวที่สุดก็คือ กลัวถูกล้อ เพราะมีความแตกต่างกับเพื่อน นอกจากความกลัว ยังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเรียน กลัวว่าจะสอบไม่ได้ กลัวถูกทำโทษ หรือกลัวเพื่อนไม่ชอบ เด็กบางคนจึงมีอาการเศร้าซึม ไม่ตั้งใจเรียน หลับในห้องเรียน อยู่ไม่นิ่ง มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย หรือแสดงพฤติกรรมที่น่าแปลกใจ
  • มีอารมณ์โกรธ อาจจะมีการแสดงออกทางอารมณ์แตกต่างกันระหว่างเด็กหญิงและเด็กชาย มีทั้งการทำร้ายร่างกาย ต่อ สู้กันด้วยวาจา ล้อ ตั้งสมญา พูดถากถาง ขู่ หรือไม่พูดด้วย หากเด็กแสดงความโกรธ ด้วยการทำร้ายผู้อื่น ผู้ใหญ่ควรอธิบายให้เด็กเข้าใจพฤติกรรมที่ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม และหาตัวอย่างเพื่อนในวัยเดียวกันที่มีพฤติกรรมที่ดี ที่จะเป็นตัวอย่างได้ ผู้ใหญ่ควรชมเชยที่เด็กสามารถระงับความโกรธและแสดงออกในทางที่เหมาะสม การลงโทษเด็กด้วยการตีหรือทำให้เจ็บ เป็นเรื่องที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะไม่แก้ไขพฤติกรรมที่ก้าวร้าวนั้น ยังเป็นการส่งเสริมให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าวมากยิ่งขึ้น

พ่อแม่ ผู้ปกครองจะจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ให้ลูกวัยประถมต้นได้อย่างไร?

การเลี้ยงลูกวัยประถมต้นให้มีจิตใจร่าเริง มุ่งมั่นในการทำดีเพื่อส่วนรวม รักใคร่สามัคคี และมีความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ของพ่อแม่และมีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กในทุกด้าน สิ่งที่พ่อแม่ควรพิจารณาในการเลี้ยงลูก เพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จด้านอารมณ์และจิตใจ มีแนวทางดังนี้
  • ฝึกทักษะต่างๆที่สำคัญในการดำรงชีวิตให้แก่ลูก ได้แก่ ทักษะพื้นฐานในกิจวัตรประจำวัน เช่น การช่วยเหลือตัว เอง การทำอาหาร ทำงานบ้าน การดูแลทรัพย์สินของตัวเองและส่วนรวม ทักษะในการเข้าสังคม เช่น การควบคุมอารมณ์ การปรับตัวและการแสดงออกที่เหมาะสม การเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ความมีน้ำใจ ช่วยเหลือดูแลผู้อื่น ด้านระเบียบวินัย ควรให้ลูกมีส่วนร่วมสร้างกติกากับตนเอง เพราะจะเป็นการฝึกให้ลูกเป็นตัวของตัวเอง มีระเบียบวินัยจากภายใน ซึ่งจะเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตต่อไป หลังจากนี้พ่อแม่จะเหนื่อยน้อยลง ไม่ต้องไปสร้างระเบียบวินัยจากภายนอก
  • ฝึกให้ลูกช่วยเหลือตัวเองและรับผิดชอบในเรื่องส่วนตัว พอขึ้นชั้นประถม สภาพแวดล้อมใหม่และใหญ่กว่าเดิม เพื่อนใหม่ที่ยังไม่รู้จักรู้ใจ คุณครูแปลกหน้า ที่เอาจริงกับการสอน กฎระเบียบใหม่ ตารางสอน กำหนดเวลา ข้อห้าม การถูกจำกัดขอบเขต ให้นั่งอยู่ที่โต๊ะของตัวเอง ไปจนถึงกิจวัตรประจำวัน ที่ต้องกลับบ้านช้ากว่าเดิม ต้องจัดสรรเวลาสำหรับทำการบ้าน จัดตารางสอน ฯลฯ จึงส่งผลต่ออารมณ์ของเด็ก ที่อาจเครียดหรือวิตกกังวลได้
  • ฝึกบริหารเวลา ให้อยู่ในกติกา และฝึกทักษะการแก้ปัญหาง่ายๆ ทำให้ลูกเกิดความภูมิใจในตนเอง
  • กิจกรรมที่เด็กสามารถช่วยเหลืองานส่วนรวม เช่น งานบ้าน จัดโต๊ะอาหาร กวาดบ้าน ถูบ้าน ล้างถ้วยชาม เก็บโต๊ะกินข้าว รวมถึงงานส่วนรวมในห้องเรียน นอกจากจะพัฒนาความรับผิดชอบ ความช่างสังเกต ความละเอียดรอบคอบแล้ว ยังฝึกความมีน้ำใจเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่น การที่ทำงานร่วมกับผู้ใหญ่ เด็กจะซึมซับการกระทำ วิธีคิด ค่านิยม ทัศนคติ และเป็นการถ่ายทอดเทคนิคได้โดยไม่รู้ตัว
  • พ่อแม่สอนลูกด้วยความรักและเข้าใจกัน สนใจฟังลูก ชื่นชมให้กำลังใจ เข้าใจธรรมชาติของลูก พร้อมทั้งฝึกทักษะต่างๆที่สำคัญในการดำรงชีวิตให้กับลูก ทั้งทักษะพื้นฐานในกิจวัตรประจำวัน ทักษะในการเข้าสังคม และทักษะด้านความปลอดภัย
  • บรรยากาศในบ้าน เป็นแบบสบายๆ พูดคุยกันในแง่ดีเสมอ ลูกรู้ว่าพ่อแม่ยอมรับฟังความคิดเห็น มีการพูดกันชัด เจน และทำตามได้
  • พ่อแม่ให้ความสำคัญกับความตั้งใจ ความอดทน และความรับผิดชอบของลูก แสดงชัดเจนว่า ความผิดพลาดเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้ ให้โอกาสลูกคิด เลือก และหัดตัดสินใจ ขณะเดียวกันลูกมีความอดทนและเรียนรู้ที่จะรอคอย
  • ลูกมีความภูมิใจที่มีพ่อแม่ที่เข้าใจ รักและให้กำลังใจ ให้เวลากับลูก รับรู้ว่าพ่อแม่รักและเชื่อมั่นในความสามารถของลูก ลูกได้ฝึกฝน ควบคุมอารมณ์ รู้จักตัวเอง มองเห็นความสามารถในตัวเอง สามารถเรียนรู้และพัฒนาความสามารถด้านต่างๆตลอดเวลา ลูกมีบุคลิกภาพที่ดี มีความภูมิใจในตัวเอง รู้สึกดีต่อตัวเอง เชื่อมั่นในตัวเอง ขณะเดียวกันมองเห็นจุด อ่อนจุดแข็งในตัว รวมทั้งฝึกฝนตัวเองเป็น

ประเมินพัฒนาการด้านอารมณ์ของลูกวัยประถมต้นได้อย่างไร? 

พ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถประเมินพัฒนาการด้านอารมณ์ของลูกได้ ดังนี้
อายุ 6 ขวบ
  • มีความสนใจในกิจกรรมและงานของตนเองยาวนานขึ้น
  • มีความกระตือรือร้นและสนใจของแปลกๆใหม่ๆ
  • ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกผ่านภาพวาดได้
อายุ 7 ขวบ
  • เข้าใจเรื่องเหตุและผลมากขึ้น
  • มีความอยากรู้อยากเห็น
  • เมื่อสนใจสิ่งใดแล้วจะพยายามทำให้สำเร็จ
  • มีความสนใจยาวนานขึ้น
  • สามารถจดจำระยะเวลาหรืออดีตและปัจจุบันได้
อายุ 8 ขวบ
  • เริ่มแยกแยะการเล่นตามเพศ เช่น เด็กผู้ชายอาจจะเลียนแบบทหาร ส่วนเด็กผู้หญิงจะเล่นสมมุติ ร้อยลูกปัด วาดรูป และการอ่านนิทาน
  • สนใจและจดจ่อกับงานที่ได้รับมอบหมายและทำจนสำเร็จ
  • เข้าใจคำสั่งและหวังให้ชิ้นงานทำคะแนนได้ดีกว่าเดิม
อายุ 9 ขวบ
  • ใช้ภาษาที่ซับซ้อนขึ้น
  • สนใจและมีความรู้รอบตัว
  • รู้จักถามตอบอย่างมีเหตุผล
  • สามารถหาคำตอบเองได้จากการสังเกต
  • เลียนแบบการกระทำของเด็กที่โตกว่า
  • ต้องการความเป็นส่วนตัวมากขึ้น
  • มีของสะสมส่วนตัว

เกร็ดความรู้เพื่อครู

โรงเรียนมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทุกด้านของเด็กประถม โรงเรียนที่มีคุณภาพในการพัฒนาเด็ก จะประกอบด้วยครูที่มีภาวะผู้ นำ อบอุ่น เป็นกันเอง ยุติธรรม แต่ชัดเจนในกฎเกณฑ์ ไม่มีลักษณะเข้มงวดกดขี่ มีความสามารถในการคิด ตัดสินใจ มองการณ์ไกล และมีความเชื่อมั่นในความสามารถในตัวเด็ก และตรวจสอบความก้าวหน้าของเด็กสม่ำเสมอ นอกเหนือจากด้านการเรียน เด็กควรได้รับการฝึกฝนการเล่น การอยู่รวมกับเพื่อนและครู งานศิลปะ คนตรี ฯลฯ ความสามารถเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการได้รับการยอมรับจากครูและเพื่อน เป็นสิ่งที่สำคัญที่ทำให้เด็กเห็นคุณค่าในตนเอง
ครูควรประสานความเข้าใจในทิศทางพัฒนาเด็กวัยเรียนระหว่างบ้านและโรงเรียน แลกเปลี่ยนข้อมูลพฤติกรรมของเด็กระหว่างอยู่ที่บ้านกับโรงเรียน เพื่อพ่อแม่และครูเกิดความเข้าใจที่ตรงกัน จะได้ส่งเสริมการเรียนของลูกได้อย่างถูกต้องและปรับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีระบบคัดกรองเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมหรืออารมณ์ และมีทีมนักจิตวิทยาโรงเรียนประเมินผล หาสาเหตุ ส่งต่อ ติดตามผลการให้ความช่วยเหลือ จะช่วยทำให้โรงเรียนสามารถพัฒนาเด็กได้เพิ่มขึ้น
ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เสริมสร้างลักษณะที่สำคัญของการเป็นนักเรียนรู้ ให้เกิดในตัวเด็ก ตั้งใจฝึกฝนเด็กและเป็นต้นแบบที่ดีให้กับเด็ก ครูอธิบายสิ่งที่ให้เด็กทำชัดเจน บอกถึงผลที่ได้รับเมื่อเด็กไม่ทำชัดเจนเช่นเดียวกัน ฝึกผ่านการทำ งาน จากงานที่ง่ายไปสู่งานที่ยาก ฝึกผ่านกิจวัตรประจำวัน ทั้งงานส่วนตัวและส่วนรวม ฝึกหัดให้ทำสิ่งต่างๆ ทั้งที่ชอบและไม่ชอบ ให้โอกาสหัดทำ ให้ซ้ำๆ บ่อยๆ จนชำนาญและคล่อง ชื่นชมเมื่อทำได้ ให้กำลังใจ ชี้แนะ สนับสนุนให้ทำต่อไป ฝึก ฝนสม่ำเสมอ เมื่อทำได้ไม่ดีหรือทำยังไม่ได้ และให้เวลาจนเด็กสามารถทำงานนั้นสำเร็จลุล่วงได้ ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดความอยากรู้อยากเห็น มีความอดทนและรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา มองโลกในแง่ดี เป็นตัวของตัวเอง มีนิสัยที่ทำอะไรจนสำเร็จ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นลักษณะที่สำคัญของการเป็นนักเรียนรู้ เมื่อเด็กวัยประถมต้นสามารถปรับตัวในทางที่ถูกต้องเหมาะสม สามารถใช้ชีวิตในวัยเด็กอย่างมีความสุข จะทำให้เด็กพัฒนาความมั่นใจในตนเองและนำไปสู่ภาพลักษณ์แห่งตนในที่สุด ซึ่งจะเป็นรากฐานที่ดี ที่จะให้เด็กมีการพัฒนาไปสู่วัยรุ่นด้วยดีต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

พัฒนาการของเด็กประถม

พัฒนาการด้านอารมณ์วัยประถมต้น


เด็กวัยประถมต้น เรียนรู้ และรู้จักอารมณ์ทุกอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นความกลัว ความวิตกกังวล ความโกรธ ความสนุก ความสุข ความเบิกบาน ความสำคัญอยู่ที่ผู้ใหญ่รอบตัวได้ชี้ให้เด็กเห็นถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคล มองข้ามความไม่ถูกใจ ชี้ให้ เห็นข้อดีของคนอื่น และมีการแสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสม เรียนรู้เรื่องความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้จักแพ้ รู้จักผิดหวัง และรู้จักพยายามทำใหม่ในครั้งต่อไป การเตรียมตัวลูกให้ปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีแนวทางที่ถูกต้องในการพัฒนาชีวิตให้พ้นจากความทุกข์ และเข้าถึงความสุขที่แท้จริง นั่นคือความฉลาดในการเกิดเป็นมนุษย์
คนเรามีโอกาสที่จะฉลาดอยู่ตลอดเวลา แม้ในโอกาสที่มีการกระทบกระทั่ง เกิดความกดดัน มีสิ่งคุกคาม ถ้าเด็กเป็นนักศึกษาเรียนรู้ชีวิต พร้อมที่จะเรียนรู้ทบทวนจากประสบการณ์ในอดีต เพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน เพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและมีความสุขได้ในอนาคต แล้วเป็นความสุขที่ประกอบด้วยความฉลาด รู้อะไรควร-ไม่ควร สามารถปล่อยวางสิ่งที่ไร้แก่นสาระ ไม่หวั่นไหวตามการแปรปรวนของสิ่งภายนอก ทำยากแต่ไม่เหลือวิสัย จะทำให้สามารถประสบความสำเร็จในการปฏิบัติเพื่อพัฒนากาย วาจา ใจ ให้มีคุณภาพ ทำหน้าที่ต่างๆด้วยจิตใจที่ไม่เศร้าหมอง ไม่หวั่นไหว มีความสุข สะอาด สดชื่น และมีความคิดที่จะสร้างประโยชน์ให้แก่ชีวิตของเด็กได้

เด็กวัยประถมต้นมีสมรรถนะและพัฒนาการด้านอารมณ์อย่างไร?

วัยประถมต้นเป็นช่วงเวลาที่เด็กถูกคาดหวังให้มีความรู้เบื้องต้นที่จำเป็นต่อการปรับตัวในชีวิตตอนเป็นผู้ใหญ่ และเรียนรู้ทักษะที่สำคัญบางอย่าง ทั้งในหลักสูตรและนอกหลักสูตรของโรงเรียน ดังนั้นพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กวัยนี้จึงมีทั้งความสุขและความทุกข์เกิดขึ้น ดังนี้
  • มีความสุข ร่าเริง ปิติเบิกบาน เด็กวัยประถมต้นเป็นวัยที่มีความสุข มีความพึงพอใจเกี่ยวกับวัยของตนอย่างมาก มีความสนุกสนานในการเล่น เพราะใช้เวลาส่วนมากอยู่กับเพื่อน เริ่มเรียนรู้ที่จะให้ความร่วมมือ รู้จักให้และรับ หากถามผู้ ใหญ่ว่าวัยไหนเป็นวัยที่มีความสุขที่สุด ส่วนมากจะตอบว่าวัยประถม ผู้ใหญ่บางคนสามารถเล่าเหตุการณ์และประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในวัยนี้ได้เป็นอย่างดี จึงไม่ยากนักที่ผู้ใหญ่รอบตัวจะช่วยให้เด็กวัยนี้มีความสุข
  • มีความกลัวต่างๆ เช่น กลัวสัตว์ กลัวงู กลัวความมืด กลัวที่สูง กลัวฟ้าผ่า ฟ้าร้อง แต่สิ่งที่กลัวที่สุดก็คือ กลัวถูกล้อ เพราะมีความแตกต่างกับเพื่อน นอกจากความกลัว ยังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเรียน กลัวว่าจะสอบไม่ได้ กลัวถูกทำโทษ หรือกลัวเพื่อนไม่ชอบ เด็กบางคนจึงมีอาการเศร้าซึม ไม่ตั้งใจเรียน หลับในห้องเรียน อยู่ไม่นิ่ง มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย หรือแสดงพฤติกรรมที่น่าแปลกใจ
  • มีอารมณ์โกรธ อาจจะมีการแสดงออกทางอารมณ์แตกต่างกันระหว่างเด็กหญิงและเด็กชาย มีทั้งการทำร้ายร่างกาย ต่อ สู้กันด้วยวาจา ล้อ ตั้งสมญา พูดถากถาง ขู่ หรือไม่พูดด้วย หากเด็กแสดงความโกรธ ด้วยการทำร้ายผู้อื่น ผู้ใหญ่ควรอธิบายให้เด็กเข้าใจพฤติกรรมที่ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม และหาตัวอย่างเพื่อนในวัยเดียวกันที่มีพฤติกรรมที่ดี ที่จะเป็นตัวอย่างได้ ผู้ใหญ่ควรชมเชยที่เด็กสามารถระงับความโกรธและแสดงออกในทางที่เหมาะสม การลงโทษเด็กด้วยการตีหรือทำให้เจ็บ เป็นเรื่องที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะไม่แก้ไขพฤติกรรมที่ก้าวร้าวนั้น ยังเป็นการส่งเสริมให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าวมากยิ่งขึ้น

พ่อแม่ ผู้ปกครองจะจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ให้ลูกวัยประถมต้นได้อย่างไร?

  • การเลี้ยงลูกวัยประถมต้นให้มีจิตใจร่าเริง มุ่งมั่นในการทำดีเพื่อส่วนรวม รักใคร่สามัคคี และมีความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ของพ่อแม่และมีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กในทุกด้าน สิ่งที่พ่อแม่ควรพิจารณาในการเลี้ยงลูก เพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จด้านอารมณ์และจิตใจ มีแนวทางดังนี้
    • ฝึกทักษะต่างๆที่สำคัญในการดำรงชีวิตให้แก่ลูก ได้แก่ ทักษะพื้นฐานในกิจวัตรประจำวัน เช่น การช่วยเหลือตัว เอง การทำอาหาร ทำงานบ้าน การดูแลทรัพย์สินของตัวเองและส่วนรวม ทักษะในการเข้าสังคม เช่น การควบคุมอารมณ์ การปรับตัวและการแสดงออกที่เหมาะสม การเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ความมีน้ำใจ ช่วยเหลือดูแลผู้อื่น ด้านระเบียบวินัย ควรให้ลูกมีส่วนร่วมสร้างกติกากับตนเอง เพราะจะเป็นการฝึกให้ลูกเป็นตัวของตัวเอง มีระเบียบวินัยจากภายใน ซึ่งจะเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตต่อไป หลังจากนี้พ่อแม่จะเหนื่อยน้อยลง ไม่ต้องไปสร้างระเบียบวินัยจากภายนอก
    • ฝึกให้ลูกช่วยเหลือตัวเองและรับผิดชอบในเรื่องส่วนตัว พอขึ้นชั้นประถม สภาพแวดล้อมใหม่และใหญ่กว่าเดิม เพื่อนใหม่ที่ยังไม่รู้จักรู้ใจ คุณครูแปลกหน้า ที่เอาจริงกับการสอน กฎระเบียบใหม่ ตารางสอน กำหนดเวลา ข้อห้าม การถูกจำกัดขอบเขต ให้นั่งอยู่ที่โต๊ะของตัวเอง ไปจนถึงกิจวัตรประจำวัน ที่ต้องกลับบ้านช้ากว่าเดิม ต้องจัดสรรเวลาสำหรับทำการบ้าน จัดตารางสอน ฯลฯ จึงส่งผลต่ออารมณ์ของเด็ก ที่อาจเครียดหรือวิตกกังวลได้
    • ฝึกบริหารเวลา ให้อยู่ในกติกา และฝึกทักษะการแก้ปัญหาง่ายๆ ทำให้ลูกเกิดความภูมิใจในตนเอง
    • กิจกรรมที่เด็กสามารถช่วยเหลืองานส่วนรวม เช่น งานบ้าน จัดโต๊ะอาหาร กวาดบ้าน ถูบ้าน ล้างถ้วยชาม เก็บโต๊ะกินข้าว รวมถึงงานส่วนรวมในห้องเรียน นอกจากจะพัฒนาความรับผิดชอบ ความช่างสังเกต ความละเอียดรอบคอบแล้ว ยังฝึกความมีน้ำใจเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่น การที่ทำงานร่วมกับผู้ใหญ่ เด็กจะซึมซับการกระทำ วิธีคิด ค่านิยม ทัศนคติ และเป็นการถ่ายทอดเทคนิคได้โดยไม่รู้ตัว
    • พ่อแม่สอนลูกด้วยความรักและเข้าใจกัน สนใจฟังลูก ชื่นชมให้กำลังใจ เข้าใจธรรมชาติของลูก พร้อมทั้งฝึกทักษะต่างๆที่สำคัญในการดำรงชีวิตให้กับลูก ทั้งทักษะพื้นฐานในกิจวัตรประจำวัน ทักษะในการเข้าสังคม และทักษะด้านความปลอดภัย
    • บรรยากาศในบ้าน เป็นแบบสบายๆ พูดคุยกันในแง่ดีเสมอ ลูกรู้ว่าพ่อแม่ยอมรับฟังความคิดเห็น มีการพูดกันชัด เจน และทำตามได้
    • พ่อแม่ให้ความสำคัญกับความตั้งใจ ความอดทน และความรับผิดชอบของลูก แสดงชัดเจนว่า ความผิดพลาดเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้ ให้โอกาสลูกคิด เลือก และหัดตัดสินใจ ขณะเดียวกันลูกมีความอดทนและเรียนรู้ที่จะรอคอย
    • ลูกมีความภูมิใจที่มีพ่อแม่ที่เข้าใจ รักและให้กำลังใจ ให้เวลากับลูก รับรู้ว่าพ่อแม่รักและเชื่อมั่นในความสามารถของลูก ลูกได้ฝึกฝน ควบคุมอารมณ์ รู้จักตัวเอง มองเห็นความสามารถในตัวเอง สามารถเรียนรู้และพัฒนาความสามารถด้านต่างๆตลอดเวลา ลูกมีบุคลิกภาพที่ดี มีความภูมิใจในตัวเอง รู้สึกดีต่อตัวเอง เชื่อมั่นในตัวเอง ขณะเดียวกันมองเห็นจุด อ่อนจุดแข็งในตัว รวมทั้งฝึกฝนตัวเองเป็น